ชุมชนร้อยเอ็ดอโศก
1.1ยุคแห่งกองทัพธรรม
พ่อท่านสมณะโพธิ์รักษ์เป็นกงล้อธรรมจักรด้วยการเดินทางให้การอบรมคณะบุคคลต่างๆทั่วประเทศในช่วงปี
2529
ท่านได้พบแสงสว่างแห่งชีวิตและเปลี่ยนแปลงตนเอง
1.2 ยุคแห่งบุญญาวุธ หมายเลข1 (อาหารมังสวิรัติ)
กิจกรรมที่กลุ่มญาติธรรมจังหวัดร้อยเอ็ดได้ร่วมกันเปิดร้านอาหารมังสวิรัติในตัวจังหวัดเป็นจุดที่กลุ่มญาติธรรมได้มาพบปะคุยกัน
1.3 ยุคชาวอโศกกับการเมือง (พรรคพลังธรรม)
การก่อตั้งพรรคพลังธรรมของ
พลตรี จำลอง ทำให้ญาติธรรมกลุ่มร้อยเอ็ดมีหน้าที่ทำงาน
1.4 ยุคกรณีสันติอโศก (พ.ศ 2532-พ.ศ.2540)
นับเป็นโจทย์ที่สำคัญในชีวิตของนักปฏิบัติธรรมชาวอโศกไม่เว้นแม้ชาวร้อยเอ็ดร้านอาหารมังสวิรัติต้องปิดตัวลงเนื่องจากมีปัญหา
ชาวร้อยเอ็ดไปร่วมปฏิบัติธรรมและทำส่วนกลางมากขึ้น
2. กำเนิดศูนย์ฝึกอบรมบุญนิยมร้อยเอ็ดอโศก
พ่อใหญ่มุน 5 ไร่ บ้านใหม่ชุมพร
จังหวัดยโสธร, อ.สมวงค์ ขุมหิรัญ 10 ไร่ อ.เมืองสรวง, ญาติๆคุณอุทัย สุทธิประภา 18 ไร่ ที่บ้านเหล่าแขม อ.เสลภูมิ ที่ประชุมส่วนใหญ่เลือกที่ อ.เสลภูมิ
ปี พ.ศ.2544 มีโครงการพักชำระหนี้ลูกหนี้ของ ธกส. ทั่วประเทศ วันที่
1 เมษายน 2544 กลุ่มญาติธรรมผู้หาญกล้า
ท้าทายความลำบากกับเจ้าป่าวัชพืชที่ปกคลุมหนาแน่นด้วยสองมือเปล่าและเงินศูนย์บาท 12 เมษายน 2544
เป็นวันเริ่มสร้างอาคารด้วยเงินบริจาคและเงินเกื้อ นำโดยนายอุทัย นางวันทอง
นายสุเทพ นางนงเยาว์ นายไสว นางคำพูด
นางถม นางสาวมะลิวัลย์ นายแตงโม นางทองสุก นางทองม้วน นายพัน นายลออ
และญาติธรรมที่เหลือทั้งหมดรวมกว่า 40 ชีวิต
อาคารพักหญิง
1 หลัง
อาคารพักชาย
1 หลัง
ห้องน้ำหญิง 10 ห้อง
ห้องน้ำชาย 10 ห้อง
ห้องน้ำอาคารอบรม
2 หอ้ง
กุฏิ 2 หลัง
ถังเก็บน้ำ
6 เมตร ขนาดบรรจุ 2,000 ลิตร 2 ถัง
บ่อบาดาล
3 บ่อ
วันที่ 25 กันยายน 2544 อบรมหลักสูตรสัจธรรมชีวิตรุ่นแรก 4
คืน 5 วัน โดยมีคณะจากศีรษะอโศกเป็นพี่เลี้ยง
4 ร่น ในการอบรมวิถีชีวิตเรียบง่าย ลดราบจ่าย เพิ่มรายได้
ลดอบายมุก มีหลากหลายอาชีพผลิตของใช้ได้เอง เช่น ทำปุ๋ย
ปลูกผักและผลไม้ไร้สารพิษได้ด้วยตนเองอย่างภาคภูมิใจ ชีวิตส่วนตัวเปลี่ยนแปลงดีขึ้นและสามารถรวมกลุ่มย่อยปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับศูนย์ใหญ่ จำนวนผู้เข้าอบรมกว่า 10,000 ชีวิต
20 ปี แห่งการสร้างคนให้มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มักน้อย สันโดษ ขยันขันแข็ง เสียสละ สะพัดสู่สังคม สร้างความสมบูรณ์ในปัจจัย 4 สร้างจารีตประเพณี วัฒนธรรม มีระบบสาธารณโภคี รายได้ทั้งหมดไม่รับเข้าส่วนตัว ทำงานฟรี เมื่อเราพัฒนาคนให้อยู่ร่วมกันได้ด้วยระบบสาธารณโภคีอย่างมั่นใจ เราจึงสร้างตามหลังการอบรม เราขยายพื้นที่เพื่อทำการเกษตร(อาหาร ยารักษาโรค) สร้างป่า (อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) และอาคารบ้านพัก จากจุดเริ่มต้นของการฝึกเป็นศูนย์อบรม ทำให้สมาชิกได้งานทำร่วมกันอย่างจริงจัง ทำให้ได้เห็นคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนเข้มแข็งตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเริ่มมีสมาชิกเพิ่มขึ้น มีการย้ายทะเบียนบ้านเข้าทาอยู่ในเขตที่ตั้งของชุมชน สมาชิกทุกคนเป็นผู้ปฏิบัติธรรมชาวอโศก ถือศีลห้าไม่มีอบายมุก รับประทานอาหารมังสวิรัติ และร่วนกันผลิตปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทำนา ปลูกพืชผักผลไม้โดยไม่ใช้สารเคมี ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง ผลิตเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาร แชมพู สบู่ เพราะเห็น ทอเสื่อ ฯลฯ เป็นต้น
4.ฐานงานสำคัญ
4.1ฐานกสิกรรม เป็นอาชีพที่สำคัญที่สุดเป็นหัวใจหลักของชุมชนสมาชิกส่วนใหญ่ช่วยกันทำกสิกรรมแบ่งความรับผิดชอบและช่วยลงแขกหมุนเวียนกันไป ทำให้ชาวชุมชนมีพืชผักไร้สารพิษรับประทานตลอดปี
เราปลูกผักที่กินและกินผักที่ปลูกในพื้นที่ว่าง โดยเฉพาะกะหล่ำปลีปลูกได้หัวใหญ่
กรอบ หวาน สด ชุมชนร้อยเอ็ดอโศกมีผักป่าตามธรรมชาติมากมายที่ไม่ต้องปลูก
ไม่ต้องดูแลรักษา เพียงแต่ช่วยกันอนุรักษ์ ไม่ทำลาย ไม่เผาหรือถาง
แต่ปล่อยให้ขึ้นเองเป็นป่าธรรมชาติ ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
พอถึงฤดูเห็ดป่าก็จะมีเห็ดป่ามากมายให้เราเก็บมับประทานซึ่งนับเป็นความโชคดีของชาวร้อยเอ็ดอโศกที่มีป่าธรรมชาติกว่า 80 ไร่ ทอดยาวขนานกับแม่น้ำชี ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าทำให้ผู้มาเยือนประทับใจในธรรมชาติที่ร่มรื่นกับพืชป่าและสมุนไพรนานาชนิดซึ่งป่าบริเวณรี้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวร้อยเอ็ดอโศกและพี่น้องชาวบ้านใกล้เคียงที่ได้ช่วยกันอนุรักษ์ดูแลไม่ให้คนเข้ามาตัดไม้ทำลายป่า
4.2ฐานปุ๋ยสะอาด นโยบายหลักที่สำคัญของฐานปุ๋ยสะอาดของชุมชนร้อยเอ็ดอโศกโดยสมาชิกทุกคนจะให้ความสำคัญให้แนวคิดว่าอาหารได้จากธรรมชาติ
4.3ฐานงานขยะรักยาชุมชนร้อยเอ็ดอโศกให้ความสำคัญกับฐานงานขยะโดยจะปฏิบัติให้เกิดคุณค่าประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมให้มากที่สุด
4.4
ฐานงานโรงสีข้าวกล้องเครื่องสีข้าวกล้องด้วยมือปลอดเชื้อรามากกว่าข้าวกล้องทั่วไป
4.5ฐานแปรรูปเป็นหัวใจของการบริโภคกระบวนการผลิตมีขั้นตอนและใช้ระยะเวลาพอสมควรทำให้มีประสิทธิภาพ
4.7
ฐานอบรมร้อยเอ็ดอโศกมีจุดเริ่มจากการเป็นศูนย์อบรมฐานอบรมเป็นฐานแรกชุมชน
4.10 ฐานงานบริการ
1. ด้านจิตวิญญาณ
2. ด้านงานอาชีพ
3. ด้านกายภาพ
5. เส้นทางและเป้าหมายของวิถีชาวบุญนิยม
แนวทางและวิถีการดำเนินชีวิตจึงเน้นการปฏิบัติในทุกขณะของการดำเนินชีวิตตามทฤษฏีมรรคมีองค์
8
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน
ซึ่งได้แก่ 1. สัมมาทิฐิ (การเห็นชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (การดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (การพูดดี)
4. สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (การทำอาชีพชอบ)
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งมั่นชอบ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น