ชุมชนร้อยเอ็ดอโศก
1.1ยุคแห่งกองทัพธรรม
พ่อท่านสมณะโพธิ์รักษ์เป็นกงล้อธรรมจักรด้วยการเดินทางให้การอบรมคณะบุคคลต่างๆทั่วประเทศในช่วงปี
2529
ท่านได้พบแสงสว่างแห่งชีวิตและเปลี่ยนแปลงตนเอง
1.2 ยุคแห่งบุญญาวุธ หมายเลข1 (อาหารมังสวิรัติ)
กิจกรรมที่กลุ่มญาติธรรมจังหวัดร้อยเอ็ดได้ร่วมกันเปิดร้านอาหารมังสวิรัติในตัวจังหวัดเป็นจุดที่กลุ่มญาติธรรมได้มาพบปะคุยกัน
1.3 ยุคชาวอโศกกับการเมือง (พรรคพลังธรรม)
การก่อตั้งพรรคพลังธรรมของ
พลตรี จำลอง ทำให้ญาติธรรมกลุ่มร้อยเอ็ดมีหน้าที่ทำงาน
1.4 ยุคกรณีสันติอโศก (พ.ศ 2532-พ.ศ.2540)
นับเป็นโจทย์ที่สำคัญในชีวิตของนักปฏิบัติธรรมชาวอโศกไม่เว้นแม้ชาวร้อยเอ็ดร้านอาหารมังสวิรัติต้องปิดตัวลงเนื่องจากมีปัญหา
ชาวร้อยเอ็ดไปร่วมปฏิบัติธรรมและทำส่วนกลางมากขึ้น
2. กำเนิดศูนย์ฝึกอบรมบุญนิยมร้อยเอ็ดอโศก
พ่อใหญ่มุน 5 ไร่ บ้านใหม่ชุมพร
จังหวัดยโสธร, อ.สมวงค์ ขุมหิรัญ 10 ไร่ อ.เมืองสรวง, ญาติๆคุณอุทัย สุทธิประภา 18 ไร่ ที่บ้านเหล่าแขม อ.เสลภูมิ ที่ประชุมส่วนใหญ่เลือกที่ อ.เสลภูมิ
ปี พ.ศ.2544 มีโครงการพักชำระหนี้ลูกหนี้ของ ธกส. ทั่วประเทศ วันที่
1 เมษายน 2544 กลุ่มญาติธรรมผู้หาญกล้า
ท้าทายความลำบากกับเจ้าป่าวัชพืชที่ปกคลุมหนาแน่นด้วยสองมือเปล่าและเงินศูนย์บาท 12 เมษายน 2544
เป็นวันเริ่มสร้างอาคารด้วยเงินบริจาคและเงินเกื้อ นำโดยนายอุทัย นางวันทอง
นายสุเทพ นางนงเยาว์ นายไสว นางคำพูด
นางถม นางสาวมะลิวัลย์ นายแตงโม นางทองสุก นางทองม้วน นายพัน นายลออ
และญาติธรรมที่เหลือทั้งหมดรวมกว่า 40 ชีวิต
อาคารพักหญิง
1 หลัง
อาคารพักชาย
1 หลัง
ห้องน้ำหญิง 10 ห้อง
ห้องน้ำชาย 10 ห้อง
ห้องน้ำอาคารอบรม
2 หอ้ง
กุฏิ 2 หลัง
ถังเก็บน้ำ
6 เมตร ขนาดบรรจุ 2,000 ลิตร 2 ถัง
บ่อบาดาล
3 บ่อ
วันที่ 25 กันยายน 2544 อบรมหลักสูตรสัจธรรมชีวิตรุ่นแรก 4
คืน 5 วัน โดยมีคณะจากศีรษะอโศกเป็นพี่เลี้ยง
4 ร่น ในการอบรมวิถีชีวิตเรียบง่าย ลดราบจ่าย เพิ่มรายได้
ลดอบายมุก มีหลากหลายอาชีพผลิตของใช้ได้เอง เช่น ทำปุ๋ย
ปลูกผักและผลไม้ไร้สารพิษได้ด้วยตนเองอย่างภาคภูมิใจ ชีวิตส่วนตัวเปลี่ยนแปลงดีขึ้นและสามารถรวมกลุ่มย่อยปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับศูนย์ใหญ่ จำนวนผู้เข้าอบรมกว่า 10,000 ชีวิต
20 ปี แห่งการสร้างคนให้มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มักน้อย สันโดษ ขยันขันแข็ง เสียสละ สะพัดสู่สังคม สร้างความสมบูรณ์ในปัจจัย 4 สร้างจารีตประเพณี วัฒนธรรม มีระบบสาธารณโภคี รายได้ทั้งหมดไม่รับเข้าส่วนตัว ทำงานฟรี เมื่อเราพัฒนาคนให้อยู่ร่วมกันได้ด้วยระบบสาธารณโภคีอย่างมั่นใจ เราจึงสร้างตามหลังการอบรม เราขยายพื้นที่เพื่อทำการเกษตร(อาหาร ยารักษาโรค) สร้างป่า (อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) และอาคารบ้านพัก จากจุดเริ่มต้นของการฝึกเป็นศูนย์อบรม ทำให้สมาชิกได้งานทำร่วมกันอย่างจริงจัง ทำให้ได้เห็นคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนเข้มแข็งตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเริ่มมีสมาชิกเพิ่มขึ้น มีการย้ายทะเบียนบ้านเข้าทาอยู่ในเขตที่ตั้งของชุมชน สมาชิกทุกคนเป็นผู้ปฏิบัติธรรมชาวอโศก ถือศีลห้าไม่มีอบายมุก รับประทานอาหารมังสวิรัติ และร่วนกันผลิตปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทำนา ปลูกพืชผักผลไม้โดยไม่ใช้สารเคมี ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง ผลิตเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาร แชมพู สบู่ เพราะเห็น ทอเสื่อ ฯลฯ เป็นต้น
4.ฐานงานสำคัญ
4.1ฐานกสิกรรม เป็นอาชีพที่สำคัญที่สุดเป็นหัวใจหลักของชุมชนสมาชิกส่วนใหญ่ช่วยกันทำกสิกรรมแบ่งความรับผิดชอบและช่วยลงแขกหมุนเวียนกันไป ทำให้ชาวชุมชนมีพืชผักไร้สารพิษรับประทานตลอดปี
เราปลูกผักที่กินและกินผักที่ปลูกในพื้นที่ว่าง โดยเฉพาะกะหล่ำปลีปลูกได้หัวใหญ่
กรอบ หวาน สด ชุมชนร้อยเอ็ดอโศกมีผักป่าตามธรรมชาติมากมายที่ไม่ต้องปลูก
ไม่ต้องดูแลรักษา เพียงแต่ช่วยกันอนุรักษ์ ไม่ทำลาย ไม่เผาหรือถาง
แต่ปล่อยให้ขึ้นเองเป็นป่าธรรมชาติ ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
พอถึงฤดูเห็ดป่าก็จะมีเห็ดป่ามากมายให้เราเก็บมับประทานซึ่งนับเป็นความโชคดีของชาวร้อยเอ็ดอโศกที่มีป่าธรรมชาติกว่า 80 ไร่ ทอดยาวขนานกับแม่น้ำชี ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าทำให้ผู้มาเยือนประทับใจในธรรมชาติที่ร่มรื่นกับพืชป่าและสมุนไพรนานาชนิดซึ่งป่าบริเวณรี้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวร้อยเอ็ดอโศกและพี่น้องชาวบ้านใกล้เคียงที่ได้ช่วยกันอนุรักษ์ดูแลไม่ให้คนเข้ามาตัดไม้ทำลายป่า
4.2ฐานปุ๋ยสะอาด นโยบายหลักที่สำคัญของฐานปุ๋ยสะอาดของชุมชนร้อยเอ็ดอโศกโดยสมาชิกทุกคนจะให้ความสำคัญให้แนวคิดว่าอาหารได้จากธรรมชาติ
4.3ฐานงานขยะรักยาชุมชนร้อยเอ็ดอโศกให้ความสำคัญกับฐานงานขยะโดยจะปฏิบัติให้เกิดคุณค่าประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมให้มากที่สุด
4.4
ฐานงานโรงสีข้าวกล้องเครื่องสีข้าวกล้องด้วยมือปลอดเชื้อรามากกว่าข้าวกล้องทั่วไป
4.5ฐานแปรรูปเป็นหัวใจของการบริโภคกระบวนการผลิตมีขั้นตอนและใช้ระยะเวลาพอสมควรทำให้มีประสิทธิภาพ
4.7
ฐานอบรมร้อยเอ็ดอโศกมีจุดเริ่มจากการเป็นศูนย์อบรมฐานอบรมเป็นฐานแรกชุมชน
4.10 ฐานงานบริการ
1. ด้านจิตวิญญาณ
2. ด้านงานอาชีพ
3. ด้านกายภาพ
5. เส้นทางและเป้าหมายของวิถีชาวบุญนิยม
แนวทางและวิถีการดำเนินชีวิตจึงเน้นการปฏิบัติในทุกขณะของการดำเนินชีวิตตามทฤษฏีมรรคมีองค์
8
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน
ซึ่งได้แก่ 1. สัมมาทิฐิ (การเห็นชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (การดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (การพูดดี)
4. สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (การทำอาชีพชอบ)
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งมั่นชอบ)